Search This Blog / The Web ค้นหาบล็อก / เว็บ

Sunday, March 9, 2014

ชื่อ และสกุลกล้วยไม้ นานาพันธุ์ (4)



ชื่อ และสกุลกล้วยไม้ นานาพันธุ์ (4)

 

จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

ชื่อ และสกุลกล้วยไม้ นานาพันธุ์ (4)

สกุลกล้วยไม้ นานาชนิด มีดังนี้ 
  1. กล้วยไม้ สกุล กุหลาบ............(1)
  2. กล้วยไม้ สกุล เข็ม..................(1)
  3. กล้วยไม้ สกุล รองเท้านารี......(1)
  4. กล้วยไม้ สกุล หวาย...............(1)
  5. กล้วยไม้ สกุล ช้าง...............................................(2)
  6. กล้วยไม้ สกุล แวนด้า..........................................(2)
  7. กล้วยไม้ สกุล แคทลียา.......................................(2)
  8. กล้วยไม้ สกุล เขากวางอ่อน (ฟาแลนนอปซีส)....(3) 
  9. กล้วยไม้ สกุล กะเรกะร่อน...................................(3)
  10. กล้วยไม้ สกุล แมงปอ  (แมงป่อง).......................(3)
  11. กล้วยไม้ สกุล เพชรหึง........................................(3)
  12. กล้วยไม้ สกุล พระยาฉัททันต์.............................(3)
  13. กล้วยไม้ สกุล ม้าวิ่ง..................(4)
  14. กล้วยไม้ สกุล เสือโคร่ง............(4)
  15. กล้วยไม้ สกุล สิงโตกลอกตา...(4)
  16. กล้วยไม้ สกุล ลิ้นมังกร.........................(5)
  17. กล้วยไม้ สกุล กล้วยไม้ดิน หรือพิศมร...(5)
  18. กล้วยไม้ สกุล เอื้องน้ำต้น.....................(5)
  19. กล้วยไม้ สกุล ออนซีเดียม....................(5)
  20. กล้วยไม้ สกุล อะแคมเป.......................(5)
กล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง

ล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง เป็นกล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดิน ซอกหินหรือแอ่งหิน ที่มีอินทรีย์วัตถุทับถมมากๆ ครับลักษณะของต้นจะสั้นๆ ใบแบน ค่อนข้างหนา ใบมีสีเขียว หรือสีเขียวอมม่วง
ช่อดอกชูตั้งขึ้น ช่อดอกยาว แข็ง และตรง ดอกมีสีแดงอ่อนๆ ไปจนถึงสีแดงอมม่วง
ดอกจะทยอยบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อดอก โดยดอกที่อยู่ด้านล่างก็จะค่อยๆ โรยตามไปด้วยครับ
ถิ่นกำเนิด
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พม่า เวียตนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และหมู่เกาะสุมาตรา


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์


ราก เป็นกล้วยไม้รากดิน (Terrestrial plant) หรือรากกึ่งดิน(Lithophytic plant)

ลำต้น ลำต้นขนาดเล็กสั้นมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง เป็นลำต้นแท้ (Monopodial)

ใบ ใบหนากว้าง สีเขียวหรือเขียวอมม่วง

ดอก กลีบดอกสีแดงอมม่วง การบานของดอกจะบานตามลำดับจากด้านล่างขึ้นไปด้านบนก้าน

ช่อดอกยาว 1 – 2 ฟุต 1 ช่อมีประมาณ 10 – 25 ดอก 



ถิ่นกำเนิด
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พม่า เวียตนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และหมู่เกาะสุมาตรา นอินโดนีเซีย




การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ม้าวิ่ง ควรปลูกใส่กระถางดินเผา เพราะจัดเป็นพวก กล้วยไม้ดิน ใช้เครื่องปลูกพวก อิฐ เศษหิน หรือ ถ่าน รองก้นกระถาง แล้วโรยทับด้วยปุ๋ยหมักผสมทราย หรือปุ๋ยหมักอย่างเดียวก็ได้ เวลาย้ายมาปลูก จะต้องให้โคนต้นอยู่สูงกว่าผิวบนของเครื่องปลูก ประมาณ 1 นิ้ว เพื่อป้องกันต้นเน่า 

  
  กล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง





 กล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง

 กล้วยไม้ม้าวิ่ง

 กล้วยไม้ม้าวิ่ง

 
 กล้วยไม้ม้าวิ่งแดงอุบล

  กล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง


  กล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง


  กล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง

  กล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง

 กล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง

  กล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง


 กล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง

 กล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


 กล้วยไม้สกุลเสือโคร่ง 

กล้วยไม้สกุลเสือโคร่ง จัดอยู่ในประเภทไม่แตกกอ มีทรงต้นโปร่ง มีรูปทรงของต้น และใบคล้ายคลึงกับกล้วยไม้สกุลแมลงปอ และเรแนนเธอร่า คือมีลำต้นยาวห้อยอยู่กับกิ่งไม้ หรืออาจเกาะขึ้นอยู่ตามต้นไม้ ข้อห่าง ปล้องยาว ใบแคบยาวเรียวแหลม หรือริมใบขนานกันแล้วแต่ชนิด ช่อดอกสั้น บางชนิดมีดอกเดียว บางชนิดมีหลายดอกออกเบียดชิดกัน และเรียงแถวตามความยาวของช่อ ขนาดของดอกมีทั้งเป็นพวกดอกเล็ก ๆ และดอกใหญ่พอสมควร พื้นกลีบดอกมีสีเหลืองอมเขียว มีจุดหรือลายสีน้ำตาลเมื่อดอกบานกลีบดอกจะเปิดเต็มที่ กลีบดอกมีลักษณะหนา และแข็งแรง โคนกลีบนอกบนคู่ล่างเชื่อมติดกับฐานของเส้าเกสร เส้าเกสรสั้นบางทีเชื่อมต่อไปถึงเดือยดอกด้วย โคนปากมีถุง หรือเดือย แผ่นปากหนา และมีขนเป็นหย่อม หูปากเหยียดตรง ส่วนโคนของปลายแผ่นปากแยกออกเป็นแฉกข้างละแฉก และมีขน แผ่นปากอาจแยกเป็น 3 แฉก หรือติดกันเป็นแผ่นเดียว ส่วนที่คล้ายลิ้นมีลักษณะบาง มีขนสั้น ๆ อยู่ในถุงใต้เส้าเกสร สองข้างปลายเส้าเกสรมีเขี้ยวแหลมข้างละเขี้ยว เกสรตัวผู้มี 2 คู่ ลักษณะประจำสกุลที่เด่นคือ มีลิ้นอยู่ที่ถุงกระเป๋า มีเขี้ยวอยู่ที่ปลายเส้าเกสรทั้ง 2 ข้าง เป็นกล้วยไม้ที่ชอบแสงแดดมาก


กล้วยไม้ในสกุลเสือโคร่งนี้มีหลายชนิด แต่ชนิดที่คนไทยรู้จักกันอย่างกว้างขวางคือ เสือโคร่ง ( Trichoglottis fasciata ) บางคนอาจใช้ชื่อกล้วยไม้ชนิดนี้เป็นตัวแทนเรียกชื่อสกุลเสือโคร่ง เสือโคร่งพบกระจายอยู่ในธรรมชาติตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ภาคเหนือมักพบกาะอยู่ตามต้นไม้ที่มีทรงต้นสูง จึงพบขึ้นตามลำต้นของต้นไม้ซึ่งเริ่มจากช่วงกลาง ๆ ต้นขึ้นไป ส่วนที่พบขึ้นอยู่ในภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีลงไปหลายแห่งขึ้นอยู่ตาม พุ่มไม้ในป่าละเมาะ โดยโผล่ยอดขึ้นมารับแสงแดดอย่างเต็มที่ นิสัยของกล้วยไม้เสือโคร่งที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ หากขึ้นอยู่กลางแดดต้นจะมีสภาพแข็งแรงมาก และให้ดอกดก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นกล้วยไม้ที่ให้ดอกในฤดูแล้งระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน โดยปกติกล้วยไม้สกุลเสือโคร่งพื้นกลีบดอกจะมีสีเหลืองอมเขียว มีจุดหรือลายสีน้ำตาล แต่เสือโคร่งกลีบดอกจะมีลายตามขวางด้วย เหมือนลายเสือโคร่ง

เอื้องเสือโคร่งไทย หรือ เอื้องลายเสือ (Staurochilus fasciatus) เป็นกล้วยไม้ต้นขนาดปานกลาง ส่วนใหญ่จะพบเกาะต้นไม้ตั้งลำต้นขึ้นตรง แต่ก็มีบางสวนที่ทอดลำต้นเอนนอนกับพื้นตั้งเฉพาะยอดขึ้น ชื่อวิทย์คือ Staurochilus fasciatus  ขนาดลำต้นเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ใบและลำต้นหากตั้งตรง ขึ้นจะสวยงามเด่น สะดุดตามาก หากต้นสูงยาวมากจะขยายพันธุ์ด้วยการตัดยอดที่มีรากประมาณ 2-3 ราก แยกไปปลูกเลี้ยงใหม่ก็ได้ ส่วนตอเดิมก็จะแตกหน่อใหม่ขึ้นมา เลี้ยงดูแลได้ง่าย


   กล้วยไม้สกุลเสือโคร่ง


    กล้วยไม้สกุลเสือโคร่ง

กล้วยไม้สกุลเสือโคร่ง


กล้วยไม้สกุลเสือโคร่ง


 กล้วยไม้สกุลเสือโคร่ง


 กล้วยไม้สกุลเสือโคร่ง


 กล้วยไม้สกุลเสือโคร่ง

 กล้วยไม้สกุลเสือโคร่ง

 
   กล้วยไม้สกุลเสือโคร่งฟิลิปปิน


 ________________________________________________________________________________


  กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา

กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ พบตามธรรมชาติประมาณ 1,000 ชนิด มากเป็นอันดับสองรองจากกล้วยไม้สกุลหวาย พบกระจายพันธุ์แถบทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย แถบแปซิฟิก เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หมู่เกาะแปซิฟิก และบางส่วนกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปแอฟริกา สำหรับประเทศไทยพบกระจัดกระจายตามธรรมชาติในทั่วทุกภาคของประเทศประมาณ 140 ชนิดและแต่ละชนิดมักใช้คำว่า "สิงโต" นำหน้า สิงโตกลอกตาเป็นสกุลที่มีการกระจายพันธุ์เป็นที่กว้างในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของโลก พบในทวีปต่างๆหลายทวีป มีศูนย์กลางการกระจายพันธุ์อยู่ในเอเชียตะวันออกเชียงใต้ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่พบสิงโตกลอกตามากที่สุด ซึ่งประเทศปาปัวนิวกินีเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตามากที่สุดถึง 600 ชนิด เราสามารถจำแนกการกระจายพันธุ์ของกล้วยไม้สิงโตกลอกตาได้ 2 แบบ คือ

1. การกระจายพันธุ์ตามเขตพฤกษภูมิศาสตร์


ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันมีผลต่อสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝน ซึ่ง ส่งผลต่อการกระจายพันธุ์ของสิงโตกลอกตา สิงโตกลอกตาที่กระจายพันธุ์เหนือเส้นศูนย์สูตรมักจะชอบอากาศหนาวเย็น บางชนิดกระจายพันธุ์ตั้งแต่เขตอบอุ่นเทือกเขาหิมาลัยที่อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปีและมาถึงตอนเหนือของแถบอินโดจีนซึ่งมีอากาศร้อนชื้น เช่น สิงโตงาม สำหรับชนิดที่กระจายพันธุ์ในเขตใกล้เส้นศูนย์สูตรซึ่งมีอากาศร้อนชื้น ฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝันในแต่ละปีมาก จะพพบสิงโตกลอกตากลุ่มนี้เฉพาะแถบคาบสมุทรหรือตามเกาะต่างๆ เช่น สิงโตถิ่นใต้  สิงโตดอกไม้ไฟ หรือสิงโตหนวดยาว  จะพบการกระจายพันทางภาคใต้ของไทยไปถึงเกาะต่างๆ ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย จนไปถึงลิปปินส์ 




2. การกระจายพันธุ์ถิ่นเดียว
ในประเทศไทยพบสิงโตกลอกตาที่เป็นพืชถิ่นเดียวถึง 44 ชนิด บางชนิดมีการกระจายพันธุ์ในพื้นที่เขตกว้าง เช่น สิงโตไข่ปลาแม่สา พบในป่าดิบเขาหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ บางชนิดพบการกระจายพันธุ์ในพื้นที่เล็กๆเท่านั้นเช่น สิงโตเชียงดาว พบที่บนยอดเขาหินปูนของดอยหลวงเชียง


กล้วยไม้สิงโตธานีนิวัติ 

 
      กล้วยไม้สิงโตแฝด 

กล้วยไม้สิงโตนกเหยี่ยวเล็ก 


ออกดอกช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

  กล้วยไม้สิงโตรวงข้าวฟ่าง


ออกดอกเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม พบในป่าดิบเขาแถบประเทศอินเดีย พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทยพบที่ พิษณุโลก และทางภาคใต้ของประเทศ

กล้วยไม้สิงโตก้ามปูใหญ่

 กล้วยไม้สิงโตงาม


ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม พบทางภาคใต้ของประเทศไทย เช่น สงขลา ชุมพร และนครศรีธรรมราช

 กล้วยไม้สิงโตช่อม่วง

กล้วยไม้สิงโตใบพาย

ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ พบมากในป่าดิบแล้งทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก และเลย

กล้วยไม้สิงโตปากเป็ด

กล้วยไม้สิงโตงาม


ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม พบทางภาคใต้ของประเทศไทย เช่น สงขลา ชุมพร และนครศรีธรรมราช

กล้วยไม้สิงโตร่มหรือพัด

กล้วยไม้สิงโตกล้ามปูแดง

กล้วยไม้สิงโตลินด์เลย์
 
 ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม พบในป่าดิบชื้นทางภาคใต้


 กล้วยไม้สิงโต

กล้วยไม้สิงโต

 กล้วยไม้สิงโตสมอหิน


ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน พบในแถบจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เลย พิษณุโลก และระนอง

 กล้วยไม้สิงโตร่มหรือพัด

กล้วยไม้สิงโต

กล้วยไม้สิงโต

กล้วยไม้สิงห์โต

 กล้วยไม้สิงโตเครายาว

กล้วยไม้สิงโตนกเหบี่ยวใหญ่


พบตามป่าดิบทางภาคใต้ ออกดอกเดือนสิงหาคม-ตุลาคม

กล้วยไม้สิงโตแดง


ดอกมีกลิ่นเหม็น ออกดอกในช่วงฤดูหนาวช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ในประเทศไทยพบในหลายภูมิภาค ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ กาญจนบุรี ระนอง และพังงา นอกจากไทยแล้วยังพบในพม่าและมาเลเซีย
 กล้วยไม้สิงโต

กล้วยไม้สิงโตใบพาย

กล้วยไม้สิงโตปูแดง


ออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าทางภาคใต้ของไทย เช่น นครศรีธรรมราช ตรัง นราธิวาส และปัตตานี

 กล้วยไม้สิงโตพัดแดง


ออกดอกประมาณเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม พบตามธรรมชาติในทั่วทุกภาคของประเทศ เช่น เชียงใหม่ ลำปาง สกลนคร ชัยภูมิ จันทบุรี ตราด ระนอง กระบี่ สตูล และสุราษฎร์ธานี
กล้วยไม้สิงโตร่มหรือพัด

 กล้วยไม้สิงโตรวงทอง


ออกดอกช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน เป็นพืชถิ่นเดียว พบเฉพาในประเทศไทยที่จังหวัดพิษณุโลก เลย และชัยภูมิ

กล้วยไม้สิงโตรวงข้าวฟ่าง

ออกดอกเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม พบในป่าดิบเขาแถบประเทศอินเดีย พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทยพบที่ พิษณุโลก และทางภาคใต้ของประเทศ
 
สิงโตดอกไม้ไฟ

 กล้วยไม้สิงโตเครายาว

กล้วยไม้สิงโตลินด์เลย์

ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม พบในป่าดิบชื้นทางภาคใต้

กล้วยไม้สิงโตร่มใหญ่

กล้วยไม้สิงโตตาแดง


ออกดอกช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ และผลัดใบ เป็นพืชถิ่นเดียวพบเฉพาะในประเทศไทย ในป่าเต็งรังที่มีความสูง 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ที่จังหวัดเชียงใหม่และกาญจนบุรี

 กล้วยไม้สิงโตร่มใหญ่

ออกดอกช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ พบในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
 
กล้วยไม้สิงโตร่มชมพู

กล้วยไม้สิงโตกล้ามปูแดง

กล้วยไม้สิงโตนักกล้าม

กล้วยไม้สิงโตรวงข้าว


ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม พบตามป่าดิบแล้งทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และเลย

กล้วยไม้สิงโตร่มแดง

กล้วยไม้สิงโตร่มแดง


     
กล้วยไม้สิงโตอาจารย์เต็ม


 ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน เป็นกล้วยไม้ที่พบเฉพาะในประเทศไทย บริเวณป่าดิบเขาบนเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช และเทือกเขาใกล้เคียง

กล้วยไม้สิงโตหูหมา


กล้วยไม้สิงโต


กล้วยไม้สิงโต


         
ต้นกล้วยไม้สิงโต

===============================================


Credit:  ภาพนำมาจาก internet ซึ่ง share กันใน Google,  Face Book และได้ถ่ายทำเองบ้าง เพื่อการศึกษาดอกกล้วยไม้สกุลต่างๆ ให้ง่ายขึ้น เป็นการสืบทอดต่อไปยังอนุชน และผู้สนใจ ให้มีความรู้พึ่งพาตนเองได้ ขอขอบคุณเจ้าของภาพ ขอให้อนุโมทนาส่วนบุญกุศล เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขัง พลัง และสมปรารถนาในสิ่งที่ดีงามโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ




 

1 comment:

  1. สกุลกล้วยไม้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะเมืองไทยมีกล้วยไม้มากมายหลายสายพันธุ์ หลายสกุล และการผสมพันธ์ระหว่างพันธุ์ต่างๆ ทำให้เกิดชื่อ พันธุ์ใหม่มากมาย สกุลกล้วยไม้ในเว็บเพจนี้มี ม้าวิ่ง เสือโคร่ง สิงโตกลอกตา กล้วยไม้สกุลสิงโต
    มีรูปร่างสีสรร มากมายเหลือเกิน แลมีชื่อมากมาย สนใจเชิญคล๊กดูได้ที่เว็บเพจนี้ เพื่อเป็นความรู้ และคลายเครียดได้ดี

    ReplyDelete