Search This Blog / The Web ค้นหาบล็อก / เว็บ

Thursday, March 6, 2014

ชื่อ และสกุลจำพวกกล้วยไม้ นานาพันธุ์ (2)

ชื่อ และสกุลจำพวกกล้วยไม้ นานาพันธุ์ (2)

จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
ชื่อ และสกุลจำพวกกล้วยไม้ นานาพันธุ์  (2)

สกุลกล้วยไม้ นานาชนิด มีดังนี้
  1. กล้วยไม้ สกุล กุหลาบ.........(1)
  2. กล้วยไม้ สกุล เข็ม...............(1)
  3. กล้วยไม้ สกุล รองเท้านารี...(1)
  4. กล้วยไม้ สกุล หวาย............(1)
  5. กล้วยไม้ สกุล ช้าง..............(2)
  6. กล้วยไม้ สกุล แวนด้า.........(2)
  7. กล้วยไม้ สกุล แคทลียา......(2)
  8. กล้วยไม้ สกุล เขากวางอ่อน (ฟาแลนนอปซีส)...(3)
  9. กล้วยไม้ สกุล กะเรกะร่อน..................................(3)
  10. กล้วยไม้ สกุล แมงปอ (แมงป่อง).......................(3)
  11. กล้วยไม้ สกุล เพชรหึง.......................................(3)
  12. กล้วยไม้ สกุล พระยาฉัททันต์............................(3)
  13. กล้วยไม้ สกุล ม้าวิ่ง.................(4)
  14. กล้วยไม้ สกุล เสือโคร่ง...........(4)
  15. กล้วยไม้ สกุลสิงโตกลอกตา...(4)
  16. กล้วยไม้ สกุล ลิ้นมังกร.......................(5)
  17. กล้วยไม้ สกุล กล้วยไม้ดิน หรือพิศมร...(5)
  18. กล้วยไม้ สกุล เอื้องน้ำต้น....................(5)
  19. กล้วยไม้ สกุล ออนซีเดียม...................(5)
  20. กล้วยไม้ สกุล อะแคมเป......................(5)
     
กล้วยไม้สกุลช้าง
กล้วยไม้สกุลช้างมีการเจริญเติบโตแบบฐานเดี่ยว มีลักษณะแตกต่างไปจากกล้วยไม้สกุลอื่นๆ คือ มีลำต้นสั้น แข็งแรง ใบแข็ง หนาค่อนข้างยาว อวบน้ำ เรียงชิดกันอยู่บนลำต้น ใบเป็นร่อง หน้าตัดของใบรูปตัววี สันล่างของใบเห็นได้ชัด ใบอาจมีเส้นใบเป็นเส้นขนานสีจางๆ หลายๆ เส้นตามความยาวของใบ ปลายใบหยักมนหรือเป็นฟันแหลมไม่เท่ากัน รากเป็นระบบรากอากาศ มีขนาดใหญ่ แขนงรากใหญ่ ปลายรากมีสีเขียวซึ่งสามารถปรุงอาหารด้วยวิธีสังเคราะห์ด้วยแสงได้ ช่อดอกอาจห้อยลงหรือตั้งขึ้น ความยาวของช่อดอกเกือบเท่าๆ กับความยาวของใบ ดอกมีเป็นจำนวนมากแน่นช่อดอก กลีบนอกและกลีบในของดอกแผ่ออก อาจมีจุดหรือไม่มีจุดสีม่วงหรือสีน้ำเงินก็ได้ ขนาดของกลีบนอกโตกว่ากลีบใน เส้าเกสรสั้น ปากไม่มีข้อพับ ปลายปากไม่หยัก หรือหยักเป็นลอนเล็กๆ 3 ลอน ปลายปากชี้ตรงไปข้างหน้า ปากเชื่อมต่อกับฐานสั้นๆ ของเส้าเกสร จึงดูเหมือนว่าไม่มีฐานของเส้าเกสร เดือยของดอกแบน ชี้ตรงไปข้างหลัง มีอับเรณู 2 ก้อน แยกออกจากกัน ออกดอกปีละครั้ง บ้างต้นอาจมีดอกครั้งละหลายๆ ช่อ


กล้วยไม้ช้างมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พม่า ทางตอนใต้ของจีน ประเทศในแถบอินโดจีน อินโดนีเซีย และหมู่เกาะทะเลจีนใต้ สำหรับในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในแถบภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น หนองคา มุกดาหาร สกลนคร เลย นครราชสีมา ต่ำลงมาจนถึงตอนเหนือของภาคกลาง เช่น นครสวรรค์ ชัยนาท และภาคตะวันออก เช่น ปราจีนบุรี และแถบจังหวัดกาญจนบุรี พบขึ้นกระจายทั่วไปในป่าที่มีระดับความสูงประมาณ260-350 เมตรจากระดับน้ำทะเล

ช้าง (สกุลช้าง)

 ช้างกระ  (สกุลช้าง)

 ช้าง (สกุลช้าง)

 ช้างเผือก (สกุลช้าง)

ช้างกระ (สกุลช้าง)

ช้างแดง (สกุลช้าง)

 ช้างแดง (สกุลช้าง)

ช้างเผือก (สกุลช้าง)

 ช้างพลาย (สกุลช้าง)

ช้างม่วง (สกุลช้าง)

 ช้างกระ (สกุลช้าง)

ช้างเผือก (สกุลช้าง)

ช้างม่วง (สกุลช้าง)

กล้วยไม้ช้างมีรูปร่างใหญ่โตกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นๆ ในสกุลเดียวกัน ใบหนา แข็ง ยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ปลายใบเป็นแฉก 2 แฉก มน และสองแฉกของใบไม่เท่ากัน รากเป็นรากอากาศ มีขนาดใหญ่ ปลายรากมีสีเขียว ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกโค้งลง ช่อดอกยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร มีดอกแน่นช่อ ช่อละ 25-60ดอก ขนาดดอกประมาณ 2.5-3.0 เซนติเมตร กลีบนอกคู่ล่างกว้างยาวพอๆ กันกับกลีบนอกบน ส่วนกลีบในเรียวกว่ากลีบนอก เดือยดอกอยู่ในลักษณะเหยียดตรงไปข้างหน้า ปลายแผ่นปากหนาแข็งและปลายสองข้างเบนเข้าหากัน ปลายปากมี 3 แฉก สองแฉกข้างมน แฉกกลางมนและมีขนาดเล็กกว่ามากใกล้โคนปากด้านบนมีสันนูนเตี้ยๆ 2สัน ดอกมีกลิ่นหอมฉุน หอมไกลดอกบานในระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และบานทนได้ประมาณสองหรือสามสัปดาห์ ช้างแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะสีของดอก คือ ช้างกระ ช้างแดง และช้างเผือก ทั้งสามประเภทเป็นพันธุ์แท้พันธุ์เดียวกัน มีลักษณะลำต้น ใบ ราก ช่อดอก และดอกคล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันตรงที่สีของดอก คือช้างกระมีดอกสีขาวประด้วยจุดสีม่วงแดง ช้างแดงดอกมีสีม่วงแดงทั้งดอกหรือเกือบทั้งดอก และช้างเผือกมีดอกสีขาวล้วน นอกจากนี้ยังมี ช้างประหลาด ซึ่งเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างช้างแดงกับช้างกระ สีของดอกมีจุดสีม่วงแดงใหญ่กว่าช้างกระ บางต้นจุดสีมีขนาดใหญ่จนเกือบเต็มกลีบดอก คล้ายกับสีของดอกช้างแดง แต่ยังมีสีขาวของพื้นกลีบดอกเหลืออยู่

กล้วยไม้ช้างเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากเนื่องจากเลี้ยงได้ง่าย ออกดอกทุกปี การที่กล้วยไม้ชนิดนี้ได้ชื่อว่า ช้างอาจมาจากสองกรณีคือ ลักษณะที่มีลำต้น ใบ ราก ช่อดอก และดอกใหญ่กว่ากล้วยไม้ชนิดอื่น อีกกรณีหนึ่งอาจเป็นเพราะดอกตูมของกล้วยไม้ชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายหัวช้างและมีเดือยดอกคล้ายกับงวงช้าง

ไอยเรศ (สกุลช้าง)

ไอยเรศเป็นกล้วยไม้ป่าพันธุ์แท้ที่มีถิ่นกำเนิดกระจายไปทั่วประเทศไทยและในประเทศศรีลังกา เนปาล ภูฎาน พม่า จีน ประเทศแถบอินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และหมู่เกาะบอร์เนียว ในประเทศไทยพบในป่าที่มีระดับความสูงตั้งแต่ประมาณ 150-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล

ไอยเรศมีลำต้นใหญ่แข็งแรงคล้ายกล้วยไม้ช้าง แต่ใบยาวกว่าและแคบกว่า ใบยาวประมาณ 40 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร มีทางสีเขียวแก่สลับกับสีเขียวอ่อนตามความยาวของใบคล้ายกล้วยไม้ช้าง ปลายใบมีลักษณะเป็นฟันแหลมไม่เท่ากัน ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก โค้งห้อยลง ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านช่อยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร มีดอกแน่นช่อ ในหนึ่งช่อมีดอกประมาณ150 ดอก มากกว่ากล้วยไม้ช้าง รูปร่างลักษณะของช่อดอกที่ยาวเป็นรูปทรงกระบอกคล้ายกับลักษณะของพวงมาลัย จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พวงมาลัยต้นใหญ่ๆ มักจะแตกหน่อที่โคนต้น เกิดเป็นกอใหญ่ขึ้นได้ ดอกขนาดมีขนาดประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร สีพื้นของกลีบนอกและกลีบในของดอกเป็นสีขาว มีจุดสีม่วงประปราย เดือยดอกมีสีม่วงอ่อน แผ่นปากมีลักษณะโค้งขึ้นบนแล้วยื่นไปข้างหน้า มีแต้มสีม่วงตรงกลางแผ่นปากส่วนโคนและปลายสุดแผ่นปากเป็นสีขาว ปลายแผ่นปากเว้า เส้าเกสรเห็นชัด ออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ดอกจะบานอยู่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ไอยเรศที่มีดอกสีขาว ไม่มีสีม่วงปะปนอยู่เลย เรียก "ไอยเรศเผือก" ซึ่งหาได้ยาก
ไอยเรศปลูกเลี้ยงได้ง่าย ให้ดอกทุกปี และชอบแสงแดดมากกว่ากล้วยไม้ช้าง การปลูกอาจเกาะไว้กับกิ่งไม้หรือท่อนไม้ ไว้ในบริเวณที่ได้รับแสงแดด หรือจะปลูกลงกระเช้าไม้ แขวนไว้ในบริเวณที่ได้รับแสงแดดเพียงพอ ควรให้ได้รับแสงแดดมากกว่ากล้วยไม้ช้างเล็กน้อย และควรปลูกในเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม เนื่องจากช่วงต้นฤดูฝนจะทำให้ต้นและรากเติบโตดี

เขาแกะ (สกุลช้าง)


เขาแกะมีถิ่นกำเนิดกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทย มักพบขึ้นในป่าโปร่งผลัดใบ ทั้งในภูมิภาคที่เป็นภูเขาและที่ราบ เป็นกล้วยไม้ชนิดเดียวในสกุลช้างที่มีลักษณะช่อดอกตั้งขึ้น ใบมีลักษณะแบนคล้ายแวนด้า ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร และบางกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โคนใบซ้อนกันเป็นแผง ใบโค้งสลับกันในทางตรงกันข้าม ด้วยลักษณะนี้เองจึงได้ชื่อว่า เขาแกะช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีดอกแน่นช่อ ดอกมีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบดอกทั้งกลีบนอกและกลีบในมีพื้นสีขาว มีแต้มสีม่วงครามที่ปลายกลีบทุกกลีบ ฐานของแผ่นปากและครึ่งหนึ่งของแผ่นปากที่ต่อกับฐานมีสีขาว ส่วนอีกครึ่งหนึ่งของแผ่นปากเป็นสีม่วงครามเช่นเดียวกับที่ปลายกลีบแต่สีเข้มกว่า ปากของเขาแกะคล้ายกับปากของไอยเรศ สีม่วงครามของเขาแกะบางต้นอาจมีสีต่างออกไป เช่น มีสีม่วงมากจนเกือบแดง เรียกว่า เขาแกะแดงบางต้นมีสีไปทางสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน บางต้นดอกมีสีขาวบริสุทธิ์ เรียกว่า เขาแกะเผือกซึ่งค่อนข้างหาได้ยาก เดือยดอกยาวกว่าและแคบกว่าของไอยเรศ ปลายของเดือยดอกโค้งลง ดอกบานทนประมาณสองสัปดาห์ ฤดูออกดอกประมาณเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม

เขาแกะเป็นกล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนแล้งได้ดี ชอบแสงแดดและอากาศถ่ายเทมากกว่าไอยเรศและช้าง อาจปลูกติดไว้กับต้นไม้ ท่อนไม้ หรือปลูกลงกระเช้าไม้ เนื่องจากปลูกเลี้ยงได้ง่าย ช่อดอกตั้ง สีของดอกเป็นสีม่วงครามหรือใกล้ไปทางสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีที่หาได้ยากในกล้วยไม้ทั่วๆ ไป จึงนิยมนำเขาแกะไปผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้ชนิดอื่นอีกหลายชนิดโดยเฉพาะกล้วยไม้ในสกุลใกล้เคียงกับกล้วยไม้สกุลแวนดา เพื่อพัฒนาเป็นกล้วยไม้ตัดดอกหรือเป็นกล้วยไม้ประเภทสวยงาม


กล้วยไม้สกุลแวนด้า

กล้วยไม้สกุลแวนด้าพบในป่าตามธรรมชาติประมาณ 40 ชนิด มีกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเซีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดนีเซีย จนถึงฟิลิปปินส์ แวนด้าได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นอีกหลายพันธุ์ ปัจจุบันได้มีการจำแนกประเภทของแวนด้า โดยอาศัยรูปร่างลักษณะของใบออกเป็น 4 ประเภท คือ

1. แวนด้าใบกลม มีลักษณะของใบกลมยาวทรงกระบอก ต้นสูง ข้อห่าง สังเกตได้ที่ใบติดอยู่ห่างๆ กัน มีดอกช่อละหลายดอก แต่ดอกจะบานติดต้นอยู่คราวละ 2–3 ดอกเท่านั้น เมื่อดอกข้างบนบานเพิ่มขึ้น ดอกข้างล่างจะโรยไล่กันขึ้นไปเรื่อยๆ การปลูกใช้ดอกจึงนิยมปลิดดอกมากกว่าตัดดอกทั้งช่อ     

2. แวนด้าใบแบน ลักษณะใบแผ่แบนออก ถ้าตัดมาดูหน้าตัดจะเป็นรูปตัววี มีข้อถี่ปล้องสั้น ใบซ้อนชิดกัน ปลายใบโค้งลงและจักเป็นแฉก

3. แวนด้าใบร่อง มีรูปทรงของใบและลำต้นคล้ายใบแบนมากกว่าใบกลม แวนด้าประเภทนี้ไม่พบในป่าธรรมชาติ การนำมาปลูกเลี้ยงเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งสิ้น โดยนำแวนด้าใบกลมมาผสมกับแวนด้าใบแบน     

4. แวนด้าก้างปลา มีรูปทรงของใบและลำต้น กิ่งใบกลมกับใบแบน พบตามป่าธรรมชาติน้อยมาก เพราะกล้วยไม้พันธุ์นี้เป็นหมันทั้งสิ้น     
ในบรรดาแวนด้าทั้ง 4 ประเภทนี้ แวนด้าใบกลมเป็นแวนด้าที่เลี้ยงง่ายที่สุด สามารถปลูกลงแปลงกลางแจ้งได้โดยไม่ต้องมีโรงเรือน แต่ดอกมักจะบานไม่ทน ส่วนที่เลี้ยงยากที่สุดคือ แวนด้าใบแบน มีหลายพันธุ์ ทั้งดอกใหญ่และดอกเล็ก แต่ที่ได้รับความนิยมได้แก่ ฟ้ามุ่ย เพราะดอกใหญ่ สีสวย การเลี้ยงแวนด้าใบแบนจำเป็นต้องมีโรงเรือนเพราะต้องการแสงที่พอเหมาะ สำหรับแวนด้าใบร่องเป็นลูกผสมระหว่างใบกลมและใบแบน ถูกผสมขึ้นเพื่อให้ปลูกเลี้ยงง่ายขึ้น แต่ดอกมักจะสีไม่สวยและปากหักง่าย

เอื้องเดียริอิ (สกุลแวนด้า)

 เป็นกล้ายไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะบอเนียว จัดเป็นแวนด้าประเภทใบแบน มีลักษณะของลำต้นอ้วนใหญ่ ใบกว้างและบิดเล็กน้อย ช่อดอกสั้นมีดอกน้อย กลีบนอกและกลีบในกว้าง แข็งหนา เนื้อละเอียด ดอกสีเหลืองนวลสะอาด หูปากสองข้างเล็กขาว โคนแผ่นปากสีขาว ปลายสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม แวนด้าชนิดนี้มีบทบาทสำคัญในการผสมปรับปรุงพันธุ์ที่ให้ลูกผสมไปทางสีเหลือง โดยใช้ผสมพันธุ์ควบคู่กับแวนด้าแซนเดอเรียน่า

 
แวนด้าไตร คัลเลอร์ (สกุลแวนด้า)
 เป็นกล้วยไม้แวนด้าพื้นเมืองของชวา ใบมีลักษณะยาวเป็นคลื่นกว้าง 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร ช่อดอกโค้งยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีดอกประมาณ 5–10 ดอกต่อช่อ กลีบนอกและกลีบในสีเหลืองอมขาว มีจุดสีน้ำตาลอมแดง ปากเป็นแฉก หูปากเล็กแผ่นปากสีม่วง


เอื้องสามปอยหลวง (สกุลแวนด้า)

เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะคล้ายกับสามปอยชมพู มีใบกว้างและยาวกว่าเล็กน้อย ดอกช่อหนึ่งมีประมาณ 10 ดอก ดอกมีกลีบนอกและกลีบในมีสีขาวอมเหลืองกลีบดอกห่าง หูปากทั้งสองข้างสีขาวแผ่นปากสีเขียวเหลือบเหลือง ปากเว้าเดือยสั้น รูปดอกใหญ่ขนาดดอกโตประมาณ 7 เซนติเมตร ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 

แวนด้าอินซิกนิส (สกุลแวนด้า)
เป็นกล้วยไม้พื้นเมืองของเกาะโมลูกัส จัดเป็นแวนด้าประเภทใบแบน ใบยาวประมาณ 15–20 เซนติเมตร ช่อดอกไม่ยาว มีดอกประมาณ 4–7 ดอก มีกลีบนอกและกลีบในห่างสีเหลืองอมเขียว มีจุดสีช๊อกโกแลต หูปากเล็กสีขาว แผ่นปากกว้างสีม่วงกุหลาบขนาดโตประมาณ 6 เซนติเมตร 


เอื้องสามปอยขาว (สกุลแวนด้า)
เอื้องสามปอยขาวเป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีลักษณะใบซ้อนแบบฟ้ามุ่ย แต่ใบบางและยาวกว่า ก้านช่อยาว ดอกมีสีขาว ปากใหญ่สีขาว ในปากเป็นสีเหลือง กลีบดอกนอกและกลีบในมีรูปร่างลักษณะเหมือนกัน

เอื้องสามปอยชมพู (สกุลแวนด้า)

เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีลักษณะใบซ้อนเรียงสลับกัน ช่อดอกตั้งและยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ช่อหนึ่งมี 13–15 ดอก ดอกสีน้ำตาล มีลายสมุกคล้ายฟ้ามุ่ย กลีบดอกหนาขอบกลีบเป็นคลื่น ด้านหลังกลีบและกระเป๋าเป็นสีชมพู ดอกห่าง รูปดอกโปร่ง ขนาด 4.4 เซนติเมตร

       
เข็มขาว (สกุลแวนด้า)

เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคกลางตอนบน ใบรูปแถบเรียงสลับ ปลายใบหยักเป็นฟัน ออกดอกที่ข้างลำต้น มีหลายช่อ ยาว 12-15 ซม. ช่อดอกค่อนข้างโปร่ง ดอกขนาด 1.5-2 ซม. กลีบดอกสีขาวรูปแถบแกมรูปไข่กลับ กลีบปากมีลักษณะเป็นถุงขนาดเล็ก ปลายแผ่เป็นแผ่นสั้นผายออก มีจุดขนาดเล็กสีม่วงหนาแน่น ปลายเส้าเกสรสีเหลือง ออกดอกเดือนมกราคม-เมษายน 

เอื้องสามปอยขุนตาล (สกุลแวนด้า)
เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ช่อดอกออกด้านข้างไม่ตั้งตรง ช่อดอกสั้น มีดอกประมาณ 5–7 ดอกต่อช่อ รูปดอกโปร่ง กลีบดอกหนาแข็ง ไม่ค่อยซ้อน ดอกมีสีเหลือง บางต้นสีเหลืองเข้ม บางชนิดมีประจุดสีน้ำตาลอยู่ที่โคนกลีบ กลีบหนาแข็งคล้ายดอกไม้เทียน ดอกขนาด 6-7 เซนติเมตร ออกดอกเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 

ฟ้ามุ่ย (สกุลแวนด้า)
เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบนที่มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือของไทย ลักษณะของใบค่อนข้างกว้างกว่าใบของแวนด้าชนิดอื่น ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้าง 2.5 เซนติเมตร ใบซ้อนเรียงสลับกัน ช่อดอกตั้งตรงยาวประมาณ 20–50 เซนติเมตร ออกดอก 5–15 ดอก ดอกสีฟ้าอ่อนจึงถึงฟ้าแก่ มีลายเป็นตารางสีฟ้าแก่กว่าสีพื้น ปากเล็กหูปากแคบโค้ง ปลายมนที่ปลายมี 2 ติ่ง เส้าเกสรเบื้องบนสีขาว ขนาดดอกใหญ่ประมาณ 7–10 เซนติเมตร ดอกขนาดใหญ่และบานทนนาน ออกดอกเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 

   
แชนเดอเรียน่า (สกุลแวนด้า)
 เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศฟิลิปปินส์ จัดเป็นแวนด้าประเภทใบแบน หน้าตัดของใบเป็นรูปตัววี (V) ปลายใบเป็นฟันแหลมๆ ไม่เท่ากัน ใบเรียงซ้อนค่อนข้างถี่มีลักษณะเป็นแผง ช่อดอกตั้งแข็งตั้งยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตร ช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5–15 ดอก ดอกเรียงรอบช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกเป็นพุ่มสวยงาม ดอกมีกลีบนอกคู่ล่างใหญ่ มีสีแตกต่างจากกลีบนอกบนและกลีบในทั้งคู่สีคล้ายครึ่งล่างและครึ่งบน ครึ่งบนเป็นสีชมพูม่วงอ่อน ครึ่งล่างเป็นน้ำตาลไหม้อยู่บนพื้นสีเขียว เป็นลายตาสมุก ปากยาวประมาณ เซนติเมตร กระเป๋าและคอปากสีเหลืองอมเขียว และมีเส้นสีแดงบางๆ แผ่นปากมีสีน้ำตาลไหม้ รูปดอกใหญ่ ขนาดดอกโตประมาณ 8–12 เซนติเมตร



 
เอื้องโมกข์ (สกุลแวนด้า)
เป็นกล้วยไม้ป่าพื้นเมืองของไทย พบเกาะอาศัยเลื้อยอยู่ตามต้นไม้สูง มีลำต้นกลมขนาดเท่าดินสอ จัดเป็นแวนด้าใบกลมพันธุ์แท้ ใบกลมยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว มีดอกน้อย กลีบนอกสีขาวหรือชมพูม่วง กลีบในใหญ่กว่ากลีบนอก มีรูปเกือบเป็นวงกลม ขอบหยิกเป็นคลื่น ปากมีสามแฉกสีเหลืองมีสีแดงด้านในหูปากม้วนหุ้มเส้าเกสร ปลายปากสีม่วงชมพูเหลือง ขนาดของดอกแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ โดยเฉลี่ยประมาณ 7–10 เซ็นติเมตร 

 
 ลูกผสม (สกุลแวนด้า)

ลูกผสม (สกุลแวนด้า)

______________________________________________________


สกุลแคทลียา

แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ตอนเหนือ เป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตและมีรูปทรงแบบซิมโพเดี้ยล คือมีเหง้าแนบไปตามเครื่องปลูก เหง้าอาจจะมีทั้งยาวและสั้น มีรากงอกเจริญจากเหง้า ไม่มีรากแขนง เป็นระบบรากกึ่งอากาศดูดอาหารจากอากาศและเครื่องปลูก แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วย มีหลายลักษณะ บางชนิดลำลูกกล้วยเป็นข้อปล้อง รูปทรงของลำป่องตรงกลางหรือค่อนไปข้างบนของลำเล็กน้อย มีหน้าที่เก็บสะสมอาหาร เหนือข้อที่โคนลำจะมีตา 2 ตา คือตาซ้าย และตาขวา เป็นตาแตกลำใหม่ง่ายที่สุด บางชนิดที่ลำลูกกล้วยอ้วนป้อม บางชนิดเป็นรูปทรงกระบอกหรือบิดเป็นเกลียวเล็กน้อย ผิวพื้นของลำอาจเกลี้ยงหรือเป็นร่องตามความยาวของลำ เมื่อกล้วยไม้เจริญเติบโต ลำที่ 1 หรือเรียกว่าลำหลัง จะแตกตาออกแล้วเจริญเป็นลำที่ 2 หรือเรียกว่าลำหน้า เมื่อลำที่ 2 เจริญดีแล้วก็จะแตกตาออกเป็นลำที่ 3 และที่ 4 ออกไปเรื่อยๆ บางครั้งตาแตกออกเป็น 2 ทางเรียกว่า ไม้ 2 หน้า จึงทำให้ดูเป็นกอใหญ่ โดยมีเหง้าเป็นส่วนที่เชื่อมโยงของลำลูกกล้วยลำต่อลำ และเป็นส่วนของลำที่เจริญออกจากลำเดิม
แคทลียามีใบเกิดที่ส่วนปลายลำลูกกล้วยเท่านั้น ในลำใหม่ที่กำลังเจริญใบส่วนมากแบน แต่บางชนิดใบกลมรูปทรงกระบอก ใบอาจมีหรือไม่มีกาบ รูปลักษณะค่อนข้างหนาแข็ง แต่ไม่เปราะ ลำลูกกล้วยลำหนึ่งอาจจะมีใบเพียงใบเดียวหรือสองใบก็ได้ ลักษณะของใบใช้ในการแบ่งประเภทของกล้วยไม้สกุลแคทลียา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประเภทใบเดี่ยว เป็นแคทลียาประเภทที่ปลายลำลูกกล้วยมีใบเพียงใบเดียวเท่านั้น แคทลียาประเภทนี้มักออกดอกน้อย ช่อหนึ่งอาจมีเพียง 1 หรือ 2 ดอกเท่านั้น ลักษณะดอกใหญ่ ช่อดอกสั้น
2. ประเภทใบคู่ เป็นแคทลียาประเภทที่ลำลูกกล้วยมี 2 ใบ อาจจะมีใบถึง 3 ใบก็ได้ แคทลียาประเภทนี้จะออกดอกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีหลายดอก ดอกเล็กช่อยาว 
(สกุลแคทลียา)

(สกุลแคทลียา)

(สกุลแคทลียา)

แคทลียาออกดอกที่ปลายลำลูกกล้วย เมื่อออกดอกจะออกลำหน้าซึ่งเมื่อมีลำหน้าหลายลำเวลาออกดอกจะออกดอกทีละมากๆ บางครั้งอาจมีถึง 10 ช่อ การออกดอกในแต่ละช่อ ช่อดอกหนึ่งๆ อาจมีดอกเพียง 1 ดอก, 2 ดอก, 3 ดอก หรือบางชนิดอาจมีถึง 10 ดอกก็ได้ ลักษณะของกลีบดอกมีกลีบนอก 3 กลีบ อยู่ข้างบน 1 กลีบ ข้างล่าง 2 กลีบ ขนาดเท่าๆ กัน กลีบในมี 3 กลีบ กลีบใน 2 กลีบบนมีรูปร่างเหมือนกัน โดยปกติมีขนาดใหญ่กว่ากลีบนอก กลีบในที่ 3 อยู่ที่ตอนล่างมีรูปร่างไม่เหมือนกับกลีบในบน กลีบจะม้วนทั้ง 2 ข้างเรียกว่า ปาก หรือ กระเป๋า ปากมีหูกว้าง ริมปากหยักเป็นคลื่นและมีสีเข้มกว่าส่วนอื่นๆ ภายในปากมีเส้นเกสรค่อนข้างยาวและโค้งเล็กน้อยยื่นออกมา แคทลียามีเกสรตัวผู้อยู่ตอนปลายเส้าเกสรเป็นคู่มี 2 คู่ เกสรตัวเมียอยู่ตอนล่าง เส้าเกสรนี้เป็นที่รวมของอวัยวะตัวเมียซึ่งมีรังไข่อยู่ติดกับเส้าเกสรด้านล่างเห็นเป็นลักษณะคอดเล็กยาวชัดเจนเมื่อติดฝัก ซึ่งฝักนี้จะมีเมล็ดเป็นผงเล็กมากอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก เมื่อแก่จัดฝักก็จะแตกและเมล็ดจะแพร่กระจายปลิวไปตกยังที่ต่างๆ เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะงอกเจริญเป็นต้นใหม่และขยายพันธุ์ต่อไปตามวงจรชีวิตธรรมชาติ

(สกุลแคทลียา)

(สกุลแคทลียา)

(สกุลแคทลียา)

(สกุลแคทลียา)

ลูกผสม (สกุลแคทลียา)

ลูกผสม (สกุลแคทลียา)

ลูกผสม (สกุลแคทลียา)

ลูกผสม (สกุลแคทลียา)

 แคทลียาลูกผสม เป็นกล้วยไม้ที่เกิดจากการผสมข้ามสกุลระหว่างกล้วยไม้สกุลแคทลียากับกล้วยไม้สกุลใกล้เคียงอื่นๆ เช่น 
1.  กล้วยไม้สกุลลีเลีย  
2. กล้วยไม้สกุลบรัสซาโวลา  
3. กล้วยไม้สกุลโซโฟไนตีส 
4. กล้วยไม้สกุลเอพิเดนดรัม
5. กล้วยไม้สกุลชอมบูเกีย
________________________________________________________________________________


อ้างอิง:  ได้จัดทำเว็บเพจเพื่อการศึกษาเรื่องกล้วยไม้ให้แก่ผู้สนใจทั่วไป ข้อมูลที่นำมาประกอบในเว็บ
เพจนี้นับว่ามีประโยชน์  ขอให้ผู้ที่ได้ทำข้อมูลได้บุญกุศลโดยทั่วกัน ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วย


Credit:  ภาพนำมาจาก internet ซึ่ง share กันใน Google,  Face Book และได้ถ่ายทำเองบ้าง เพื่อการศึกษาสกุลดอกกล้วยไม้ต่างๆ ให้ง่ายขึ้น เป็นการสืบทอดต่อไปยังอนุชน และผู้สนใจ ให้มีความรู้พึ่งพาตนเองได้ ขอขอบคุณเจ้าของภาพ ขอให้อนุโมทนาส่วนบุญกุศล เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขัง พลัง และสมปรารถนาในสิ่งที่ดีงามโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ




1 comment:

  1. สนใจชื่อ-สกุลกล้วยไม้สวยๆงามที่ภเก็ต และในเมืองไทย ทำไว้เพื่อการศึกษาแบบเบาๆ
    ยินดีต้อนรับเข้ามาเยี่ยมชม ที่เว็บเพจเหล่านี่ มี 5 เพจ กล้วยไม้มี 20 สกุล ดังนีั
    1.ชื่อ-สกุลกล้วยไม้ page-1 มีกล้วยไม้สกุลกุหลาบ, สกุลเข็ม, สกุลรองเท้านารี, และสกุลหวาย
    2.ชื่อ-สกุลกล้วยไม้ page-2 มีกล้วยไม้สกุลช้าง, สกุลแวนดา, และสกุลแคทลียา
    3.ชื่อ-สกุลกล้วยไม้ page-3 มีกล้วยไม้สกุลเขากวางอ่อน, สกุลกะเรกะร่อน, สกุลแมงปอ, สกุลเพชรหึง,
    และสกุลพระยาฉัททันต์
    4.ชื่อ-สกุลกล้วยไม้ page-4 มีกล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง, สกุลเสือโคร่ง, และสกุลสิงโตกลอกตา
    5.ชื่อ-สกุลกล้วยไม้ page-5 มีกล้วยไม้สกุลลิ้นมังกร, สกุลกล้วยไม้ดิน หรือพิศมร, สกุลเอื้องน้ำต้น,
    สกุลออนซีเดียม, และสกุลอะแคมเป

    ReplyDelete