Search This Blog / The Web ค้นหาบล็อก / เว็บ

Thursday, March 6, 2014

ชื่อ และสกุลจำพวกกล้วยไม้นานาพันธุ์ (3)

ชื่อ และสกุลจำพวกกล้วยไม้นานาพันธุ์ (3)


จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
 ชื่อ และสกุลจำพวกกล้วยไม้นานาพันธุ์ (3)

สกุลกล้วยไม้ นานาชนิด มีดังนี้ 
  1. กล้วยไม้ สกุล กุหลาบ.........(1)
  2. กล้วยไม้ สกุล เข็ม...............(1)
  3. กล้วยไม้ สกุล รองเท้านารี...(1)
  4. กล้วยไม้ สกุล หวาย............(1)
  5. กล้วยไม้ สกุล ช้าง..............................................(2)
  6. กล้วยไม้ สกุล แวนด้า.........................................(2)
  7. กล้วยไม้ สกุล แคทลียา......................................(2)
  8. กล้วยไม้ สกุล เขากวางอ่อน (ฟาแลนนอปซีส)...(3) 
  9. กล้วยไม้ สกุล กะเรกะร่อน..................................(3)
  10. กล้วยไม้ สกุล แมงปอ  (แมงป่อง)......................(3)
  11. กล้วยไม้ สกุล เพชรหึง.......................................(3)
  12. กล้วยไม้ สกุล พระยาฉัททันต์............................(3) 
  13. กล้วยไม้ สกุล ม้าวิ่ง..................(4)
  14. กล้วยไม้ สกุล เสือโคร่ง............(4)
  15. กล้วยไม้ สกุล สิงโตกลอกตา...(4)
  16.  กล้วยไม้ สกุล ลิ้นมังกร......................(5)
 17. กล้วยไม้ สกุล กล้วยไม้ดิน หรือพิศมร...(5)
 18. กล้วยไม้ สกุล เอื้องน้ำต้น...................(5)
 19. กล้วยไม้ สกุล ออนซีเดียม..................(5)
 20. กล้วยไม้ สกุล อะแคมเป.....................(5)

กล้วยไม้สกุลเขากวางอ่อน (ฟาแลนนอปซีส)

กล้วยไม้ฟาแลนอปซีส มีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติและกระจายพันธุ์อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ บอร์เนียว ชวา สุมาตรา มาเลเซีย สำหรับประเทศไทยมีกล้วยไม้สกุลนี้อยู่ 2-3 ชนิด เช่น เขากวาง กาตาฉ่อ ขนาดของดอกมีใหญ่และเล็กตามลักษณะของพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกกันอยู่ในขณะนี้เป็นพันธุ์ลูกผสม ที่มีการปรับปรุงพันธุ์และผสมกันมาหลายทอด จนดอกกลมใหญ่ ลักษณะของลำต้นทรงเตี้ยตรง การเจริญเติบโตเป็นแบบโมโนโพเดี้ยล ใบอวบน้ำ ค่อนข้างหนาแผ่แบนรูปคล้ายใบพาย ดอกกลมใหญ่ ขนาดกว้างประมาณ 5-8 ซม. กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีเหลือง มองดูดอกแล้วงาม ทั้งฟอร์มดอกและสี ก้านช่อยาว บางช่อยาวถึง 80 ซม. ช่อหนึ่งมีหลายดอก เรียงไปตามก้านช่ออย่างมีระเบียบ บางต้นแยกออกเป็นหลายช่อ ดอกบานทน ถ้าบานอยู่กับต้นสามารถบานอยู่ได้นานเป็นเดือน เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่ายสามารถเจริญงอกงามและออกดอกให้ได้ดีในสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ กัน นอกจากนี้ยังสามารถผสมข้ามสกุลกับสกุลกล้วยไม้สกุลต่างๆ ได้หลายสกุล เช่น ผสมกับสกุลแวนด้า ผสมกับสกุลอะแรคนิส ผสมกับสกุลเรแนนเทอร่า เป็นต้น
การปลูกกล้วยไม้ฟาแลนอปซีสลงกระถางหรือกระเช้าไม้ ควรตั้งต้นกล้วยไม้ตรงกลางให้โคนต้นส่วนเหนือรากอยู่ต่ำกว่าระดับขอบภาชนะปลูกเล็กน้อย การวางต้นกล้วยไม้สูงเกินไปจะทำให้รากกล้วยไม้ได้รับความชื้นไม่เพียงพอ แต่ถ้าปลูกต่ำเกินไปกล้วยไม้ก็จะอยู่ในสภาพที่ชื้นหรือแฉะเกินไป การใส่เครื่องปลูกควรใส่แค่กลบรากเท่านั้น อย่าใส่เครื่องปลูกมากเกินไปจนกระทั่งสูงขึ้นมากลบส่วนของส่วนโคนต้นเพราะอาจจะทำให้โคนต้นแฉะและโคนใบเน่าได้ การปลูกควรปลูกก่อนเข้าฤดูฝนคือประมาณเดือนมีนาคม ถ้าปลูกในฤดูฝนอากาศมีความชื้นสูงและกล้วยไม้กำลังอวบน้ำ อาจทำให้ใบและยอดเน่าได้
เขากวาง สกุลเขากวางอ่อน (ฟาแลนนอปซีส)
พบกระจายพันธุ์ตามธรรฒชาติในประเทศไทยแถบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ยกเว้นภาคกลาง เขากวางออกดอกเป็นช่อ 2-3 ดอก กลีบสีเขียวอมเหลือง มีขีดสีน้ำตาลตามแนวขวางของกลีบหรืออาจไม่มี ซึ่งชนิดที่ไม่มีขีดสีน้ำตาลตามแนวขวางของกลีบหาได้ยาก โคนกลีบปากกระดกขึ้น ดูเป็นหลอดยาว ปลายกระดกขึ้นสีขาว มีริ้วสีชมพูอมม่วงกระจาย ดอกขนาด 3-4 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี ดอกดกเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม

กาตาฉ่อ สกุลเขากวางอ่อน (ฟาแลนนอปซีส)
พบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศไทย ออกดอกเป็นช่อ 8-10 ดอก กลีบสีขาว โคนมีจุดหรือขีดสีม่วง โคนและปลายกลีบดอกกระดกขึ้น สีขาว ด้านโคนสีม่วง ดอกขนาด 4-6 ซม. ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม

สกุลเขากวางอ่อน (ฟาแลนนอปซีส)

สกุลเขากวางอ่อน (ฟาแลนนอปซีส)



สกุลเขากวางอ่อน (ฟาแลนนอปซีส)
___________________________________________________



กล้วยไม้สกุลกะเรกะร่อน

ชื่อท้องถิ่น เอื้องด้ามข้าว, เอื้องหางไหล, กล้วยหางไหล, เอื้องปากเป็ด

ลักษณะทั่วไป กล้วยไม้อิงอาศัย




ลำต้น เป็นหัวรูปรี มีหลายข้อ และขึ้นชิดกันเป็นกอ

ใบ รูปรูปแถบ กว้าง 3 ซม. ยาว 60 ซม. หนาและแข็ง ปลายใบเว้า

ดอก ออกเป็นช่อ มี 1-2 ช่อ ดอกขนาด 2.5 ซม. ช่อดอกยาวห้อยลงเป็นสาย กลีบดอกและกลีบเลี้ยงรูปแถบ กลีบดอกแคบและสั้นกว่ากลีบเลี้ยง ขอบกลีบสีเหลือง ปลายมน กลีบปาก รูปรีกว้าง สีม่วงแดง



เส้าเกสรสีม่วง
แหล่งที่พบ ตามป่าผลัดใบและป่าไม่ผลัดใบ ตามที่โล่งแจ้งแสงแดดจัด ในหลายระดับความสูง
เช่น ป่าเทือกเขาเเก้วป่าคลองป้อม

     ต้นกะเรกะร่อน

       กะเรกะร่อน

 
          กะเรกะร่อน

     กะเรกะร่อน

        กะเรกะร่อน

       ดอกกะเรกะร่อน

กะเรกะร่อน เอื้องปากเป็ด
 กะเรกะร่อนปากเป็ด   เป็นกล้วยไม้ที่ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ช่อดอกยาวมากและห้อยลง สีเหลืองเข้ม มีเส้นแดงที่กลางกลีบออกดอก ช่วงมีนาคมถึงพฤษภาคม ในไทยพบที่นครศรีธรรมราช ตรังและนราธิวาส

  -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
                                       
             กล้วยไม้สกุลแมงปอ (แมงป่อง)
สกุลแมลงปอ ในธรรมชาติพบแล้วประมาณ 15 ชนิด พบทั่วไปในพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย กล้วยไม้สกุลแมลงปอที่สำคัญ ได้แก่ ฮุกเกอเรียนา และแมลงปอลาย
กล้วยไม้ลูกผสมของสกุลแมลงปอที่นิยมปลูกกัน ได้แก่
-
ลูกผสมระหว่างแมลงปอฮุกเกอเรียนาบแมลงปอลาย
-
ลูกผสมระหว่างแมลงปอเมงกายี กับแมลงปอฮุกเกอเรียนาบ
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลแมลงปอ เหมาะกับการปลูกลงแปลงกลางแจ้ง แต่ถ้าเป็นลูกผสมของแมลงปอ เช่น อะแรนด้าและมอคคารา ควรมีการพรางแสงให้บ้างประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ปลูกลงแปลงได้สามารถงอกงามได้ดีเช่นกัน แต่ต้องระวังเรื่องโรคเน่า หรือจะปลูกโดยใส่กระถางใช้ถ่านเป็นเครื่องปลูก แล้ววางตั้งบนโต๊ะก็สามารถทำได้เช่นกัน เทคนิคการเลี้ยงกล้วยไม้สกุลแมลงปอและลูกผสมสกุลแมลงปอให้ออกดอก ต้องเลี้ยงให้โดนแดดจนใบเป็นสีเขียวอมเหลือง แต่ถ้าจะเลี้ยงเพื่อเร่งตัดยอดขยายพันธุ์ให้เลี้ยงในที่ค่อนข้างร่มจนใบออกเป็นสีเขียวสด
                                         
สกุลแมงปอ (แมงป่อง)
     
สกุลแมงปอ (แมงป่อง)
 





   สกุลแมงปอ (แมงป่อง)

 
สกุลแมงปอ (แมงป่อง)


สกุลแมงปอ (แมงป่อง)

______________________________________________________


กล้วยไม้สกุลเพชรหึง 


กล้วยไม้เพชรหึง ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่น ว่านหางช้าง, กล้วยกา, กะดำพะนาย, ตับตาน,  ว่านงูเหลือม, เอื้องพร้าว เป็นต้น สามารถพบได้ตามป่าดิบชื้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และทางภาคใต้


ต้นเพชรหึง เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย และในหมู่เกาะตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ในประเทศไทยสามารถพบได้ตามธรรมชาติในป่าของจังหวัดพิษณุโลก ฉะเชิงเทรา เลย ชลบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง และจังหวัดนราธิวาส สาเหตุที่คนไทยส่วนใหญ่เรียกเพชรหึงว่าเป็น ว่านนั่นเป็นเพราะว่านเพชรหึงมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ส่วนที่มาของชื่อ เพชรหึงในหนังสือตำรากบิลว่าน ได้อธิบายว่า เมื่อดอกเพชรหึงแก่ ก้านดอกจะส่ายไปมาคล้ายกับงูโยกหัว

ลักษณะของว่านเพชรหึง
ต้นว่านเพชรหึง จัดเป็นกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอ มีระบบรากอากาศ มักเกาะอาศัยอยู่บนพรรณไม้อื่น อาจมีลำต้นสูงได้ถึง 3 เมตร ขนาดของลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 เซนติเมตร เมื่อเจริญเต็มที่จะเปลี่ยนจากสีเขียวแกมเหลืองเป็นสีเหลือง ว่านเพชรหึงเป็นกล้วยไม้ที่ชอบแสงแดดค่อนข้างมาก (แต่ไม่จัดมากนัก) ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ


 สกุลเพชรหึง

 สกุลเพชรหึง

สกุลเพชรหึง

 สกุลเพชรหึง

_______________________________________________________________________________


กล้วยไม้สกุลพระยาฉัททันต์


พญาฉัตททันต์ (ช้างใส้ตัน)

ลักษณะ เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย เจริญเติบโตทางปลายยอด ใบขนาดใหญ่ เป็นรูปขอบขนาน โค้งลง ช่อดอกแบบกระจะ ออกที่ข้างลำต้น ห้อยลง ขนาดดอกกว้าง 5 เซนติเมตร สีเหลืองครีม มีลายจุสีน้ำตาลแดง ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมของทุกปี

การปลูก นิยมปลูกลงในกระเช้าไม้ ใช้วัสดุปลูกเปลือกมะพร้าว หรือรากเฟินสีดา หรือเกาะติดแก่นไม้ บำรุงปุ๋ยกล้วยไม้ฉีดพ่นอาทิตย์ละครั้ง

การเลี้ยง ควรให้อยู่ในที่ร่มชอบความชื้นสูง พรางแสงประมาณ 60 - 70%

 
พระยาฉัททันต์

  พญาฉัททันต์


กล้วยไม้เขาพระวิหาร (เอื้องระฟ้า)
เป็นกล้วยไม้ชนิดหนึ่งในสกุลพระยาฉัททันต์ใบหนา ขนาดใหญ่ ปลายใบหยัก ช่อดอกออกที่ข้างลำต้น ขนาดยาวมาก กลีบดอกด้านหน้าสีเหลือง จุดสีม่วงแดง กลีบด้านหลังสีชมพูเข้ม กลีบดอกและกลีบเลี้ยงหนา แข็ง ดอกบานนานหลายเดือน มีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเมษายนถึงพฤษภาคม พบในที่ราบลุ่มของประเทศฟิลิปปินส์ไทย ลาวและเกาะนิวกินีในประเทศไทยพบที่จังหวัดสกลนครและอุบลราชธานี

เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นและเป็นพืชเด่นประจำอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร จังหวัดศรีสะเกษ


พบมากบนเขาหินปูนในพื้นที่ป่าบริเวณเขาพระวิหารโดยเฉพาะในเส้นทางศึกษาธรรมชาติและตามตะเข็บชายแดนติดต่อระหว่างไทย-กัมพูชา มักขึ้นอยู่บนที่ราบ สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 200 - 500 เมตร พบได้ในที่โล่งแจ้งระหว่างโขดหินผาที่ร้อนระอุด้วยแสงแดดจนเกือบจะหาสิ่งปกคลุมได้ยาก กล้วยไม้เขาพระวิหารก็สามารถทนอยู่ได้ กล้วยไม้สกุลนี้มีแหล่งกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กระจายพันธุ์อยู่ในประเทศต่าง ๆ เช่น พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดจีน จนถึงปาปัวนิวกินี ในประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ 1) พระยาฉัททันต์ 2) เขาพระวิหาร

กล้วยไม้เขาพระวิหาร

 กล้วยไม้เขาพระวิหาร

 กล้วยไม้เขาพระวิหาร

การปลูก นิยมปลูกลงในกระถางขนาดใหญ่ ใช้วัสดุปลูกเปลือกมะพร้าว หรือรากเฟินสีดา ถ่านดำ ปุ๋ยชนิดละลายช้าสูตร 16–16–16 การเลี้ยง ควรให้อยู่ในที่ร่มชอบความชื้นสูง พรางแสงประมาณ 50%

________________________________________ 


อ้างอิง: ได้จัดทำเว็บเพจเพื่อการศึกษาเรื่องกล้วยไม้ให้แก่ผู้สนใจทั่วไป ข้อมูลที่นำมาประกอบในเว็บ
เพจนี้นับว่ามีประโยชน์ ขอให้ผู้ที่ได้ทำข้อมูลได้บุญกุศลโดยทั่วกัน ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วย

Credit:  ภาพนำมาจาก internet ซึ่ง share กันใน Google,  Face Book และได้ถ่ายทำเองบ้าง เพื่อการศึกษากล้วยไม้สกุลต่างๆ ให้ง่ายขึ้น เป็นการสืบทอดต่อไปยังอนุชน และผู้สนใจ ให้มีความรู้พึ่งพาตนเองได้ ขอขอบคุณเจ้าของภาพ ขอให้อนุโมทนาส่วนบุญกุศล เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขัง พลัง และสมปรารถนาในสิ่งที่ดีงามโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ





1 comment:

  1. สนใจชื่อ-สกุลกล้วยไม้สวยๆงามที่ภเก็ต และในเมืองไทย ทำไว้เพื่อการศึกษาแบบเบาๆ
    ยินดีต้อนรับเข้ามาเยี่ยมชม ที่เว็บเพจเหล่านี้ มี 5 เพจ กล้วยไม้มี 20 สกุล ดังนีั
    1.ชื่อ-สกุลกล้วยไม้ page-1 มีกล้วยไม้สกุลกุหลาบ, สกุลเข็ม, สกุลรองเท้านารี, และสกุลหวาย
    2.ชื่อ-สกุลกล้วยไม้ page-2 มีกล้วยไม้สกุลช้าง, สกุลแวนดา, และสกุลแคทลียา
    3.ชื่อ-สกุลกล้วยไม้ page-3 มีกล้วยไม้สกุลเขากวางอ่อน, สกุลกะเรกะร่อน, สกุลแมงปอ, สกุลเพชรหึง,
    และสกุลพระยาฉัททันต์
    4.ชื่อ-สกุลกล้วยไม้ page-4 มีกล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง, สกุลเสือโคร่ง, และสกุลสิงโตกลอกตา
    5.ชื่อ-สกุลกล้วยไม้ page-5 มีกล้วยไม้สกุลลิ้นมังกร, สกุลกล้วยไม้ดิน หรือพิศมร, สกุลเอื้องน้ำต้น,
    สกุลออนซีเดียม, และสกุลอะแคมเป

    ReplyDelete